7 วิธีที่ทำให้คุณมีความสุขจากอาชีพพยาบาล

              อาชีพพยาบาล เป็นหนึ่งอาชีพที่ไม่มีโอกาส work form home หรือมีโอกาสแต่น้อยแม้นในยามที่โควิดระบาดอย่างหนักก็ตามเราจึงมองเห็นภาพเพื่อนพ้องพยาบาลของเราเครียดเจ็บป่วยวูบในระหว่างการทำงานอยู่บ่อยๆเกิดการกระทบกระทั่งกับผู้รับบริการออกสื่อบ่อยๆภาพที่เห็นในสื่อโซเซียลและเป็นคลิปไวรัลคือภาพที่พยาบาลซักเกร็งจากความเครียดในระหว่างการให้บริการฉีดวัคซีนโควิดแก่ประชาชนที่หนาแน่นและคับคั่งในจังหวัดทางภาคอิสาน
 
              คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ จากช่อง YOUTUBE :The Secreat sauce พูดถึง อภิมหาการลาออก เมื่อมนุษย์เงินเดือนต้องการชีวิตคืน (The great resignation) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรคโควิด ในฝั่งยุโรป และเริ่มมีการคลายล็อคประเทศและกลุ่มคนทำงานประจำเริ่มมีการลาออกมากว่า4ล้าน คนอาจจะเพราะการค้นพบความต้องการของตนเองช่วงที่มีการทำงานที่บ้าน นั้นคือความสุขของชีวิต 
 
          ส่วนวิชาชีพพยาบาลก็เกิดการลาออกจากการทำงานของพยาบาลบางกลุ่ม ในประเทศอเมริกาทางสื่อแจ้งว่าเพราะนโยบายของประเทศในการให้กลุ่มบุคลากรฉีดวัคซีนโควิด 100 เปอร์เซ็นต์ และประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างฟิลิปปินส์ พบาบาลก็ลาออกจนเกิดผลกระทบต่องานบริการทางสื่อบอกว่าสาเหตุการลาออกมาจากความเลื่อมล้ำของค่าตอบแทนส่วนประเทศไทยยังไม่พบการลาออกของพยาบาลออกอย่างยิ่งใหญ่อาจจะเพราะพยาบาลจำนวนมากของประเทศไทยอยู่ในระบบราชการซึ่งถือว่ามีความมั่นคงต่อตนเองและครอบครัวดังนั้นเพื่อนๆพยาบาลไทยจะทำตัวอย่างไรให้มีความสุขในการประกอบอาชีพพยาบาลลดความเครียดจากการทำงานและสร้างความสุขง่ายๆ รายวันให้แก่ตนเอง ด้วยคำแนะนำ 7 ข้อ ดังนี้ค่ะ
 
  1. ทบทวนถึงสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ชื่นชมข้อดีของตนเองและผู้อื่น พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความสุข,มีอารมณ์ขันและส่งยิ้มให้กันอยู่เสมอ,กล่าวคำขอบคุณให้เป็นนิสัยและขอโทษเมื่อทำผิด,ตั้งเป้าหมายถึงสิ่งที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขและลงมือทำให้สำเร็จ,หยุดคิดเล็กคิดน้อยยอมรับข้อบกพร่องของผู้อื่นบ้าง
  2. จัดสรรเวลาให้สมดุล ตามหลัก 8-8-8 คือทำงาน 8 ชั่วโมง เวลาที่เหลืออีก 2 ส่วนคือการนอนหลับและให้เวลากับครอบครัวสุขภาพร่างกายสำคัญต่อความสุขมากแค่คุณออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอคุณก็จะเครียดน้อยลงมากแล้วแต่สิ่งที่ต้องเน้นเป็นพิเศษสำหรับคนทำงานก็คือการนอน บ่อยครั้งที่พยาบาลอาจจะใช้เวลาทำงานมากเกินไปจนกลับบ้านสายและทำให้นอนสายไปด้วย หรือบางทีเราก็เก็บเรื่องงานมาคิดมากจนเครียดนอนไม่หลับ การนอนไม่พอจะทำให้คุณรู้สึกเบลอไม่สามารถโฟกัสกับการทำงานได้ และยังทำให้คุณรู้สึกเครียดและหงุดหงิดมากขึ้นด้วยนอกจากการนอนแล้วเราควรแบ่งเวลาพักผ่อนไปเที่ยวหรืออยู่กับบ้านดูแลตัวเองด้วยร่างกายคนเราเป็นเหมือนเครื่องจักรหากไม่มีการหยุดพักตรวจสอบสภาพร่างกายบ่อยๆก็จะมีอาการล้าและเครียดได้การให้เวลาร่างกายเราพักไม่ใช่เป็นการขี้เกียจแต่มันเป็นเหมือนการเติมน้ำมันรถนะคะรถต่อให้วิ่งเร็วแค่ไหนก็ต้องมีการแวะเติมน้ำมันอยู่ดี
  3. ใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้สำคัญ อย่าบอกแต่คนอื่นดูแลสุขภาพแต่พยาบาลเอง อาจจะไม่ได้ออกกำลังกายเลย เพราะความเหนื่อยล้าจาการทำงาน ต้องออกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ช่วยคลายความเครียด นอนหลับดีขึ้น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด  ถอยออกจากออกจากโลกโซเชียล แล้วหันมาพูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับคนใกล้ชิดและคนรอบข้างทำงานอดิเรกที่ชอบหรือทดลองทำอะไรใหม่ๆ บ้างนะคะ
  4. ยึดหลักความพอเพียงในการดำเนินชีวิต พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ผลวิจัยยืนยันว่าคนทำงานที่มีความสุขจะเพิ่มผลผลิตมากกว่าคนทำงานที่ไม่มีความสุขถึงร้อยละ20สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยก็คือไม่ใช่ทุกงานที่จะเหมาะกับทุกคนแต่ละคนมีข้อจำกัดในชีวิตไม่เหมือนกันเพราะฉะนั้นเราก็ควรจะหางานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เราอยากได้หากคุณเป็นคนที่มีภาระทางบ้านเยอะ มีข้อจำกัดต่างๆที่การทำงานไม่สามารถตอบโจทย์ให้ได้พยาบาลเองก็ควรศึกษาวิธีเรื่องการพัฒนาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานเพิ่มเติมคนบางคนหากเป็นงานที่ชอบก็ยอมทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้เลยคนบางคนก็มีข้อจำกัดต้องเลิกงานให้ตรงเวลาไปรับลูกไม่ว่าข้อจำกัดหรือความชอบของคุณคืออะไรคุณก็ต้องหาจุดพอดีระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตให้ได้หากคุณไม่สามารถหาจุดพอดีระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต คุณก็จะไม่มีความสุขทุกๆครั้งที่คุณสูญเสียการควบคุมตารางเวลาของตัวเองไม่ว่าจะไปกับเรื่องงานหรือเรื่องภาระส่วนตัว
  5. เข้าใจคุณค่าของงาน หลายคนไม่มีความสุขกับงานของตัวเองเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่ทำ'ไม่มีความหมาย’บางทีเราอาจจะทำงานอย่างเดิมซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งจนรู้สึกว่ามันไม่สำคัญหรือบางทีเราก็อาจจะไม่ได้เข้าใจว่าคุณค่าของตำแหน่งงานของเราอยู่ในส่วนไหนของภาพรวมของหน่วยงานการทำงานทั้งที่ไม่เข้าใจคุณค่าหรือเป้าหมายของตัวงานจะทำให้เรารู้สึกเบื่อหรือรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่มีความหมายซึ่งอาการรู้สึกเบื่อหรือรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำไม่มีความหมายก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างไม่มีความสุขตัวอย่างของอสม.เป็นอาสาสมัครที่ทำงานช่วยสังคมเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งพี่น้องอสม.นี้ทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งที่เขาสนใจหรือเห็นคุณค่าต่อชุมชน ต่อให้ได้ผลตอบแทนไม่เยอะ ทำงานเหนื่อยแค่ไหนหรือทำงานซ้ำไปซ้ำมาเขาก็ยังมีความสุขกับงานที่เขาทำได้เพราะฉะนั้นหากคุณคิดว่าคุณไม่เข้าใจคุณค่าหรือเป้าหมายของงานที่ตัวเองทำ ให้พยายามศึกษาภาพรวมของหน่วยงาน ผู้รับบริการหรือผู้ป่วยที่มา ต้องการความช่วยเหลือยามเจ็บป่วยหน้าที่ของเรามีประโยชน์สูงสุดมากที่เดียวค่ะ
  6. เข้าใจว่าการทำงานก็คือการเข้าสังคมอย่างหนึ่งการทำงานส่วนมากต้องมีการพูดคุยกับคนอื่น เช่นการทำงานร่วมกันแผนกอื่น การคุยกับผู้รับบริการ  ไม่ว่าจะเป็นงานระดับไหนเราก็ต้องใช้ทักษะการเข้าสังคมไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งเท่ากับว่าเราก็ต้องเลือกงานที่มีระดับการ 'เข้าสังคม’ ให้เหมาะสมกับตัวเอง หากเราไม่อยากพูดคุยกับคนเแปลกหน้าเยอะเราก็ควรเลี่ยงงานที่ต้องพบผู้รับบริการ แต่การเป็นพยาบาลย่อมเลี่ยงงานบริการไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ  เราก็ต้องมีการพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการและเพื่อนร่วมงานไม่มากก็น้อยอยู่ดี ทางที่ดีเราเปิดใจให้กว้างและเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับคนรอบข้างจะดีกว่าค่ะ
  7. เข้าใจว่าวัฒนธรรมองค์กรเราสามารถเกิดอาการ'เข้ากันไม่ได้’กับสถานที่ทำงานด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดก็คือการเข้าไม่ได้กับวัฒนธรรมองค์กรยกตัวอย่างเช่นหากเราทำงานโรงพยาบาลเอกชนทางบริษัทก็อาจจะชอบคนที่กล้าแสดงออกมากกว่า หรือถ้าเราทำงานในระบบโรงพยาบาลของรัฐเราก็ต้องทำความเข้าใจระบบ 'ระดับความอาวุโส’เป็นต้นแต่ละวัฒนธรรมแต่ละระบบการทำงานมีข้อดีข้อเสียไม่เหมือนกันการเปลี่ยนระบบการทำงานของแต่ละหน่วยงานก็เป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ยากมากเพราะฉะนั้นทางเลือกที่ดีและทำให้เรามาความสุขที่สุดคือการหาหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะกับเรา

 

          หากทำงานอย่างไม่มีความสุข สิ่งที่ตามมาอย่างแน่นอน คือ ความเครียด ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งผลกระทบจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน อาจมีปัญหาต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นประจำ เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมาก หงุดหงิด ว้าวุ่นใจ รู้สึกเบื่อเซ็ง สมาธิน้อยลง มีความรู้สึกไม่อยากพบผู้คนบ่อยครั้งมีหลากหลายวิธีที่มีการนำมาใช้เพื่อลดความเครียด ตั้งแต่ การทำใจให้สบายปล่อยวาง ชมภาพยนตร์ ชมละคร เข้าวัดทำบุญ ใส่บาตร ไหว้พระ ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว และหาที่ปรึกษา หาเพื่อนคุย  ทั้งหมดต้องขึ้นกับตัวเราที่รู้เท่าทันอารณ์ของเราเองค่ะ

 
เอกสารอ้างอิง
1.วารสารวิชัยยุทธฉบับครบรอบพิเศษ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ปี พ.ศ. 2562
2.นครินทร์ วนกิจไพบูลย์”อภิมหาการลาออก เมื่อมนุษย์เงินเดือนต้องการชีวิตคืน (The great resignation)       
    ช่องYOUTUBE :The Secreat sauce
3.เว็บไซด์ http://faithandbacon.com/15วิธีทำงานอย่างมีความสุข
4. พระมหาสมปอง ตาลปุตโต เจริญพรความสุข The Happiness,2556