วิธีการทำงาน พยาบาลในอนาคต 

 
      ผลพวงจากโรคร้าย ทำให้หลายประเทศเลือกใช้วิธีให้ยาแรงด้วยการ ล็อกดาวน์ (Lockdown) แน่นอน..การเลือกใช้วิธีดังกล่าว ก็สัมพันธ์กับการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ ภาคธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัว หันมาใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร AI (ปัญญาประดิษฐ์) และ IoT (Internet of Things) และทั้งหมดทั้งมวลนี้เอง ส่งผลให้ "ตลาดแรงงาน" (Labour Market) เกิดความไม่มั่นคง
 
      จากรายงาน Future of Jobs Report 2020 ระบุว่า การมาของโควิด-19 ถือเป็นหายนะที่เร่งรัดให้ "งานแห่งอนาคต" (Future of Work) มาเร็วขึ้น ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่า ภาคธุรกิจจะเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่เมื่อโควิด-19 มาถึง ภาคธุรกิจจะเร่งปรับตัวและเลือกใช้เทคโนโลยีทันที และปีหน้านี้ หรือปี 2021 จะมีการใช้อย่างเต็มตัว
 
      ประเด็นสำคัญที่อยู่ในรายงานฉบับนี้คือ อัตราการเคลื่อนไหวของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในปีหน้า จะไม่ใช่ลักษณะการก้าวเดิน แต่จะเป็นการก้าวกระโดด โดยนำ Cloud Computing, Big Data และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce มาใช้
 
      หากเป็นบริษัทที่ใช้เครื่องจักร แรงงานคนที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรจะถูกแทนที่โดย เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) หลายๆ บริษัทจะเปลี่ยนแปลงภาระหน้าที่, งาน และทักษะต่างๆ อย่างรวดเร็วขึ้น โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 จะมีกลุ่มธุรกิจกว่า 43% ปรับลดแรงงานลง โดยนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน ส่วนอีก 41% มีแผนขยายการใช้แรงงานที่มีทักษะพิเศษโดยเฉพาะ และ 34% มีแผนขยายแรงงานในระหว่างการผสมผสานเทคโนโลยี
 
      ถ้าแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ภายใน 5 ปี ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม แรงงานคนจำนวนมากจะถูกแทนที่โดยเครื่องจักรและเทคโนโลยี ส่วนที่เหลือจะเป็นแรงงานที่มีสกิลความสามารถพิเศษ
 
 
      ส่วน Jobs of Tomorrow จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ งานที่มีลักษณะใกล้ตายจะถูกเร่งให้ตายเร็วขึ้น โดยจะมี “งานเกิดขึ้นมาใหม่” เพิ่มขึ้นจากเดิม 7.8% เป็น 13.5% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจากข้อมูลของฐานลูกจ้างที่ตอบแบบสอบถามนี้ ภายในปี 2025 จะมี 85 ล้านตำแหน่งงานอาจถูกไล่ออก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ทำงานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และอีก 97 ล้านตำแหน่งงานใหม่จะเข้ามาแทนที่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มงานที่ใช้ทักษะการทำงานของมนุษย์กับเครื่องจักรและอัลกอริธึม (Algorithms)
 
 
 
“ทักษะ” แห่งอนาคต
     
     จากการสำรวจดังกล่าว ได้บ่งบอกถึง “ทักษะงานแห่งอนาคต” ไว้ด้วย ซึ่งถ้าใครได้เตรียมพร้อมเรื่องเหล่านี้ รับรองไม่มีตกงานแน่นอน และจากรายงานฉบับเดียวกันระบุว่า ตำแหน่งที่ต้องการในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย กลุ่มงานการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์ (Analysis) การแก้ปัญหาสิ่งที่บกพร่อง (Problem-Solving) และทักษะต่างๆ ในการจัดการตนเอง (Self-Management) เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Active Learning), ความยืดหยุ่น (Resilience), การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และทนสภาวะความเครียด (Stress Tolerance and Flexibility) ซึ่งไม่ว่าคุณจะทำงานด้านไหน หากมีทักษะเหล่านี้เข้ามาเพิ่ม คุณก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับบริษัท
 
 
 
“ทักษะ” ดีมีชัย
 
1. การคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม
 
2. การแก้ปัญหาซับซ้อน
 
3. Active Learning และกลยุทธ์การเรียนรู้
 
4. การคิดเชิงวิพากษ์และวิเคราะห์
 
5. ความคิดสร้างสรรค์, ความแปลกใหม่, การริเริ่ม
 
6. การแก้ปัญหาและประสบการณ์ผู้ใช้
 
7. ความเป็นผู้นำและอิทธิพลทางสังคม
 
8 ความยืดหยุ่น, ความอดทนต่อภาวะตึงเครียด และการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
 
9. การออกแบบเทคโนโลยีและโปรแกรม
 
10. การใช้เทคโนโลยี, การตรวจจับและควบคุม
 
11. การใช้เหตุผล, การแก้ปัญหา และความคิด
 
12. การติดตั้งเทคโนโลยีและการบำรุงรักษา
 
13. การจัดการพนักงาน
 
14. การใส่ใจรายละเอียดและความไว้วางใจ
 
15. ความฉลาดทางอารมณ์
 
 
แค่มีทักษะไม่พอ ต้องสร้าง (Reskill) และเสริมทักษะ (Upskill)
 
1. การคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม
 
2. ภาคธุรกิจต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่แรงงานได้มีส่วนร่วม ปฏิบัติจริง และเรียนรู้ด้าน กลยุทธ์
 
3. การคิดเชิงวิพากษ์และการวิเคราะห์
 
4. ความเป็นผู้นำและอิทธิพลทางสังคม
 
5. การแก้ปัญหาที่ความซับซ้อน
 
6. ความคิดสร้างสรรค์, ความแปลกใหม่ และการริเริ่ม
 
7. การใช้เทคโนโลยี, การตรวจจับและควบคุม
 
8. การออกแบบเทคโนโลยีและโปรแกรม
 
9. การใช้เหตุผล, การแก้ปัญหา และความคิด
 
10. ความยืดหยุ่น, ความอดทนต่อภาวะตึงเครียด และการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
 

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในยุค Thailand 4.0

      บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุดและผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
 
     
บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล รับผิดชอบอะไรบ้าง?
     
บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล เริ่มตั้งแต่การประเมินปัญหาภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ นำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพโดยคำนึงถึงความเป็นองค์รวมและความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความต้องการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้
 
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
1. บทบาทอิสระ หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ทั้งทางด้านการพยาบาลและความรู้ที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาอื่นๆ ตัดสินใจวางแผนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของการพยาบาล
 
2. บทบาทร่วม หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยทำงานร่วมกับแพทย์และทีมสหสาขา โดยนำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้หายจากโรค หรือควบคุมโรคได้
 
หน้าที่ของพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วย ในภาวะเร่งด่วน
เช่นการปฏิบัติหน้าที่ที่แผนกฉุกเฉิน การคัดกรองผู้ป่วยเป็นหน้าที่สำคัญของพยาบาลอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย โดยจะคัดกรองอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ออกเป็น
  • ต้องรีบพบแพทย์ทันที
  • สามารถรอได้แต่ไม่นานนัก พยาบาลอาจต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ สามารถรอได้นานกว่า การปฏิบัติในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างมากระหว่างรอเพื่อพบแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ
 
หน้าที่ของพยาบาลในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่
พยาบาลไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การดูแลผู้ป่วยยังต้องต่อเนื่องไปที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หน้าที่ของพยาบาลส่วนนี้คือการดูแลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ด้วยการดูแลวิธีปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความเจ็บป่วยป่วยที่เป็นอยู่ ตลอดจนการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลที่ดี หรือหายจากโรค
 
นอกจากนี้การดูแลสุขภาพที่บ้านหรือในชุมชนโดยพยาบาล ยังมุ่งดูแลชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ดูแลสุขภาพมารดา และสุขภาพและพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญอีกด้านของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนและผู้ที่เจ็บป่วยในชุมชน
 
 
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในยุคประเทศไทย 4.0 มีเป้าหมายอย่างไร?
       สำหรับบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งมุ่งเน้น
 
  • การมองหาการปฏิบัติที่ดีที่สุดทางด้านการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วย
  • การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การดูแลการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
  • การมุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
 
      การพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ จึงเป็นคำตอบ และเพื่อให้เกิดการขยายผล นวัตกรรมที่พัฒนานอกจากพัฒนางานประจำที่รับผิดชอบแล้ว ยังต้องให้สามารถให้เกิดผลประโยชน์เชิงพานิชย์ด้วย เพื่อให้สามารถขยายผลการใช้งานและผลลัพธืที่ดีทางด้านเศรษฐกิจชาติด้วย จึงมีคำกล่าวที่ว่า ยุคประเทศไทย 4.0 นี้จะต้องพัฒนานวัตกรรมที่เข้าห้าง ไม่ใช่ขึ้นหิ้ง เหมือนที่ผ่านมา โดยทุกหน้าที่ของพยาบาลยุคนี้ต้องสอดคล้องไปกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 พยาบาลต้องรู้จักคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ และรู้จักบูรณาการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลและผลลัพธ์ด้านสุขภาพผู้ป่วยที่ดีที่สุด
 
      พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 ต้องเรียนรู้หรือมีทักษะความสามารถอะไรบ้าง?
 
      เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพสามารถมองหาการปฏิบัติที่ดีที่สุดทางด้านการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วย การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และการมุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่ามากที่สุด พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความสามารถ ซึ่งได้แก่
 
       ทักษะเพื่อพัฒนาตน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ สามารถใช้ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาล กล้าที่จะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดเป็นระบบ ทำ พูด และรายงานอย่างเป็นระบบ
 
      ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น คือ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการประสานงานที่รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
 
ทักษะการดูแลที่เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย คู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน รู้จักใช้ข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ ข้อมูลทางด้านวิจัย และนำมาบูรณาการกับการทำงาน โดยทักษะต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรในปัจจุบันการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนพยาบาล ทั้งนี้โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติการพยาบาล 
 
 
     ศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในยุคประเทศไทย 4.0 มีอะไรบ้าง?
     
      การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในยุคประเทศไทย 4.0 ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ดังนี้
 
      1. ศาสตร์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลที่ได้มาจากงานวิชาการ งานวิจัย และนำมาประยุกต์ใช้ และพัฒนานวัตกรรมการพยาบาลในด้านต่าง ๆ เพื่อคุณภาพบริการที่ดีขึ้น
 
      2. ศาสตร์ความรู้ในการเข้าใจตนเอง โดยฟังผู้ป่วยและครอบครัวให้มากที่สุด นำข้อมูลไปสู่การวางแผนการดูแลช่วยเหลือ ผนวกกับให้การดูแลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และสนใจในความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
 
      3. ศาสตร์ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม คือเข้าใจความทุกข์ผู้ป่วย รู้จักเสียสละ เพื่อดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
 
      4. ศิลป์-ศิลปะในการพยาบาล ที่จะสามารถเลือใช้เพื่อให้สามารถเข้าถึง เข้าใจ และสื่อสารแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
แหล่งที่มาข้อมูล
 
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/1997208
 
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/